ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ AK-12
เป็นปืนรุ่นใหม่ของ Kalashnikov ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2012 ได้อวดโฉมในงานแสดงอาวุธและการป้องกันประเทศในกรุงมอสโกเมื่อปีที่แล้ว บริษัทผู้ผลิตนำต้นแบบเสนอต่อกระทรวงกลาโหมต้นปี 2011 ซุ่มพัฒนาและปรับปรุงต่อมาตลอดทั้งปี เริ่มการทดสอบทุกๆ ด้านเมื่อต้นปี 2012 แล้วเสร็จเดือน พ.ย. นำเสนอต่อกระทรวงกลาโหม
กองทัพบกรัสเซียจะเริ่มทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายเดือน ม.ค.-ก.พ.2013 นี้
อันเป็นขั้นตอนปฏิบัติก่อนนำเข้าประจำการ
คาดว่าการผลิตลอตใหญ่จะเริ่มขึ้นได้ในท้ายปี
การส่งออกก็จะติดตามมาหลังจากนั้น.. อาก้ารุ่นใหม่ล่าสุดอาจจะเป็นปืนทันสมัยที่สุดสำหรับนักรบยุคปัจจุบันและ
หลายประเทศในย่านนี้อาจจะต้องทยอยโละรุ่นเก่าทิ้ง..
AK-12 เป็นปืนรุ่นที่ 5 ของ “อาก้า” (Automat Kalashnikov)
ซึ่งจะผลิตออกมาหลายเวอร์ชัน รวมทั้งสำหรับส่งออก และจะกลายเป็นปืน
และมีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่งในวงการกลาโหมของโลก
ทั้งเป็นที่หมายตาของประเทศที่อยู่นอกค่ายนาโต้ และสหรัฐฯ
หลายประเทศอยู่ในจังหวะที่จะต้องเปลี่ยนอาวุธปืนของกองทัพเสียใหม่
สำหรับกำลังพลหลายหมื่น หรือหลายแสนคน
ปืนของคาลาชนิคอฟได้ชื่อเป็นอาวุธประจำกายนักรบที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุด และเชื่อถือได้มากที่สุดอีกยี่ห้อหนึ่ง โดยมี AK-47 เป็นธงนำ และกลายเป็นตำนานแห่งอาวุธปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติในศตวรรษที่ 20 แต่หลายทศวรรษมานี้สหรัฐฯ กับพันธมิตร ได้ผลิตปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติออกมาอีกหลายรุ่นที่มีความแม่นยำสูงกว่า ทั้งทนทาน ทันสมัยมากกว่าอีกด้วย
กองทัพรัสเซียสั่งให้กลุ่มอุตสาหกรรมอิซห์มาช (Izhmash) ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กระทรวงกลาโหม ศึกษาวิจัย และทดลองเพื่อผลิตอาวุธปืนใหม่ออกมาให้สอดคล้องกับสภาพสงครามในยุคใหม่ที่ เปลี่ยนไป โดยยึดถือพื้นฐานของ AK-47 อันเป็นตำนานคู่กองทัพมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นสหภาพโซเวียต
จากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ คาลาชนิคอฟเมื่อก่อน กับรัฐวิสาหกิจอิซห์มาชในวันนี้ ผลิต AK รุ่นต่างๆ ออกมาประมาณ 75 ล้านกระบอก เมื่อรวมกับเวอร์ชันที่ผลิตในอีกกว่าสิบประเทศทั่วโลก ทั้งที่มีลิขสิทธิ์ และผลิตโดยลอกเลียนแบบก็จะมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านกระบอก
ในช่วงสงครามเวียดนาม ทั้งเวียดนาม กัมพูชา และลาว ใช้ AK-47 เป็นอาวุธหลักในการต่อสู้กับสหรัฐฯ และรัฐบาลที่สหรัฐฯ หนุนหลัง หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีประวัติศาสตร์คล้ายกัน ได้รับเอกราช และนำชาติเข้าสูยุคใหม่มาได้ก็เพราะ “อาก้า”
จากวันนั้นถึงวันนี้ประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้ทยอยเปลี่ยนอาวุธให้กองทัพ แต่ก็ยังหนีไม่พ้นปืนของคาลาชนิคอฟ ซึ่งรวมทั้งเวียดนาม ลาว กัมพูชา ติมอร์เลสเต อินโดนีเซีย พม่า ไปจนถึงอินเดีย เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี ก็ถึงโอกาสอันควรที่จะต้องเปลี่ยนใหญ่กันสักครั้ง ไม่ว่าจะเก็บเอาไว้ในคลัง หรือผ่านการใช้งานมามากน้อยแค่ไหนก็ตาม เพราะ 20 ปีเป็นช่วงอายุเฉลี่ยที่ AK-47 ใช้งานได้ดีที่สุด
AK-12 พัฒนาต่อจาก AK-74 ส่วนประกอบหลายชิ้นคล้ายกัน เพียงแต่ผลิตขึ้นใหม่จากวัสดุชนิดใหม่ และคุณภาพจะต้องดีกว่ารุ่นเดิมอีกด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามความต้องการของกองทัพรัสเซีย
ปืน AK ได้ชื่อในความอึดความทน ใช้ได้ในทุกสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ หยิบขึ้นจากโคลนก็เหนียวไกยิงได้ทันที ยิงจนหมดแมกกาซีน 30 นัดโดยไม่มีติดขัด ถอดสลักเพียง 3 ชิ้นก็ทำความสะอาดได้ แม้ไม่ต้องการการบำรุงรักษามากมาย
ถึงกระนั้นถ้าหากเทียบกับคู่แข่งอย่าง M-16 ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความแม่นยำ แม้กระสุนของอาก้าจะมีขนาดใหญ่กว่า และคุยระยะหวังผลเอาไว้ถึง 350 เมตร แต่ในสนามจริงจะยิงให้เข้าเป้าห่างออกไปสัก 200 เมตรก็ยังลำบาก ซึ่งเรื่องนี้ M-16 ทำได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม ในสงครามกองโจรปืนอาก้าได้เปรียบทั้งในด้านความคล่องตัว และความทนทายาด และในระยะซุ่มยิงประมาณ 100 เมตรในป่าดงนั้น กระสุนของอาก้ามีอานุภาพสูงกว่าในการหยุดยั้ง หรือทำลายคู่ต่อสู้
แต่ในปัจจุบัน สหรัฐฯ พัฒนาอาวุธปืนไปไกลกว่า M-16 หลายยุคแล้ว
ปืนของสหรัฐฯ ติดอุปกรณ์ช่วยรบได้มากมาย ยิงได้แม่นยำต่างไปจากเมื่อ 2-3 ทศวรรษก่อน และรัสเซียทราบดีว่าหากประชันกันตัวต่อตัว กระบอกต่อกระบอก ปืนของคาลาชนิคอฟยากที่จะเทียบรัศมีปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติของสหรัฐฯ ได้ ถึงแม้จะพัฒนาต่อจาก AK-47 มาอีกหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น AKM (AK Modern) AK-74 (ประจำการปี 1974) และ AK-100s ซึ่งเป็นเวอร์ชันส่งออกของ AK-74 กับรุ่นย่อยอีกนับสิบรุ่นก็ตามที
บริษัทอิซห์มาชนำต้นแบบ AK-12 ออกแนะนำตัวตั้งแต่ต้นปี 2011 ซุ่มพัฒนาต่อมา 1 ปีเต็ม ก่อนจะเริ่มทำทดสอบหาจุดบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขตลอดปีที่แล้ว ซึ่งสำนักข่าวโนวอสติของทางการรัสเซียรายงานว่า การทดสอบแล้วเสร็จลงในเดือน พ.ย. ซึ่งมีการแก้ไขจุดอ่อนไปจำนวนหนึ่ง ก็จึงถึงรอบที่กองทัพจะต้อง “เล่นเอง” จนเป็นที่พอใจ โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในช่วงปลายปีนี้
AK-12 (หรือ AK รุ่นปี 2012) ออกมาในรูปทรงที่ดูโฉบเฉี่ยวทันสมัยยิ่งขึ้น ติดรางพิคาทินนี (Picatinny) เกือบจะตลอดสัน และติดเพิ่มด้านล่างเพื่อพ่วงอุปกรณ์ช่วยรบต่างๆได้รอบตัว แต่โดยรวมก็ยังยึดความเป็นปืนที่บึกบึน ใช้ง่าย บำรุงรักษาง่าย ชิ้นส่วนหลายชิ้นยังคล้ายกับของอาก้ารุ่นก่อน แม้จะผลิตใหม่ด้วยวัสดุที่ต่างออกไปก็ตามที
อิซห์มาชกำลังจะผลิต AK-12 ออกมาหลายขนาด รุ่นที่ใช้ในกองทัพรัสเซียจะเป็นกระสุนขนาด 5.45x39 มาตรฐานของ AK-74 ส่วนเวอร์ชันส่งออกจะมีกระสุนให้เลือกมากกว่า รวมทั้งขนาด 5.56x45 มาตรฐานนาโต้-สหรัฐฯ ด้วย
ใกล้ตัวเข้ามาในลาว และกัมพูชา ปัจจุบัน กองทัพของสองประเทศนี้ ใช้ “แบบ-56” (Type-56) ซึ่งเป็น AK-47 ฉบับก๊อบปี้ของจีนเป็นหลัก ในกัมพูชานอกจากจะมี “แบบ-56” แล้ว ยังมี AK-47 กับ AKM จำนวนมาก แต่ทั้งหมดใช้งานมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นมีอายุกว่า 50 ปี
สำหรับกองทัพประชาชนเวียดนามจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะมีทั้ง “แบบ-56” AKM, AK-74 และ AK-108 ซึ่งแสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยน มีการจัดหาปืนใหม่มาเป็นระยะ
บางหน่วยของกองทัพบกไทยใช้ “อาก้าจีน” เป็นหลัก ไม่ต่างจากในกองทัพเพื่อนบ้านที่ชายแดนติดกัน เช่น พม่า และไกลออกไปในบังกลาเทศ ปากีสถาน ยกเว้นอินเดียที่ผลิตทั้ง AK-47, AKM และ AK-74 โดยซื้อสิทธิบัตรจากรัสเซียอย่างถูกต้อง
แต่ทั้งหมดนี้อาจจะได้เวลาต้องโละ เพราะ “อาก้ารุ่นเก่า” ล้าสมัยมากแล้ว.
.
.
.
.
.
.
.
จากรูปด้านบนคือ
มิคาอิล คาลาชนิคอฟ (Mikhail Kalashnikov)
ผู้ออกแบบปืนไรเฟิล AK-47 เสียชีวิตแล้วในวันที่ 23 ธ.ค. 2013 ขณะมีอายุ 94 ปีที่บ้านของเขา
ในประเทศรัสเซีย ในเมือง อิเชฟส์ค ใกล้เทือกเขายูรัล สถานที่ผลิตปืนอาก้า
แต่ไม่มีการเปิดเผยสาเหตุการเสียชีวิต
R.I.P
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น